เมนู

ถามว่า ถ้าอย่างนั้น อธิกรณ์มีส่วนอื่น จะมีได้อย่างไร ?
แก้ว่า มีได้เพราะอาบัติ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสคำนี้ว่า อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และเลศอันโจทก์อ้างแล้ว
แม้ด้วยอาการอย่างนี้. แท้จริง ภิกษุนั้น ต้องสังฆาทิเสสใด, อธิกรณ์
คือสังฆาทิเสสนั้น เป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่นแห่งปาราชิก. ก็ที่ชื่อว่าเลศแห่ง
อธิกรณ์มีส่วนอื่นนั้น คือความเป็นอาบัติทั่วไปแก่อาบัติทั้งปวง เหมือน
ความเป็นกษัตริย์ทั่วไปแก่กษัตริย์ทั้งปวงฉะนั้น. นัยทั้งหลายมีอาบัติที่เหลือ
เป็นมูล และโจทาปกวาร ผู้ศึกษาพึงทราบโดยอุบายนี้.
คำว่า อนาปตฺติ ตถาสญฺญี โจเทติ วา โจทาเปติ วา มีความว่า
ภิกษุใด มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ผู้นี้ ต้องปาราชิกทีเดียว โจทเอง หรือ
ใช้ให้ผู้อื่นโจทอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือทั้งหมด
ตื้นทั้งนั้น.
แม้ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เหมือนกับปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
นั้นแล.
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10
เรื่องพระเทวทัต


[590] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร